top of page

Musemu Siam
มิวเซียมสยาม พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ที่ตั้งอยู่เขตพระนคร โดยในตัวพิพิธภัณฑ์ จะมีการจัดนิทรรศการถาวร และนิทรรศการอื่นๆ คอยวนเวียนมาให้เราได้พบเจอเป็นระยะ
ในวันนี้เราจะมาพูดถึงนิทรรศการถาวรของพิพิธภัณฑ์สยามที่มีอยู่ทุกวัน สามารถเข้าชมได้ตลอดตามช่วงเวลาเปิดทำการ หรือ อีกชื่อนึงคือนิทรรศการถาวรนั่นเอง
นิทรรศการถาวรนี้ มีชื่อว่า "เรียงความประเทศไทย" มีทั้งหมด 3 ชั้น มีเนื้อหาที่พูดถึงประวัติศาสตร์ตั้งแต่สมัยสุวรรณภูมิจนมาถึงประเทศไทยในปัจจุบัน ในนิทรรศการนี้แบ่งออกเป็น 3 ช่วง หลักๆดังนี้
ช่วงที่ 1 “สุวรรณภูมิ”
ช่วงที่ 2 “สยามประเทศไทย”
ช่วงที่ 3 “ประเทศไทย”
เมื่อแนะนำกันพอประมาณแล้วเราก็มาเริ่เดินทางไปแต่ละห้องกันเลย
ห้องที่1 เป็นห้องที่มีการฉายวีดีโอ เนื้อเรื่องเกี่ยวกับเด็กคนหนึ่งที่ได้ย้อนอดีตกลับไปเห็นความเป็นอยู่ สังคม และ ประเพณีในสมัยก่อน ทำให้เขาได้รู้เรื่องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์มากมายในอดีตเลยทีเดียว
ห้องที่2 เป็นห้องที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการวิวัฒนาการของมนุษย์ตั้งแต่ยุคไดโนเสาร์ จนมาถึง การที่มนุษ์เริ่มทำงาน สร้างอารยธรรมเป็นของตนเอง
ห้องที่3 เป็นห้องที่พูดถึงสมัยสุวรรณภูมิ จากบ้าน เกิดเป็นเมือง และจากเมือง เกิดเป็นรัฐ มีการปกครองที่พัฒนาขึ้นไปเรื่อยๆ อีกทั้งในดินแดงสุวรรณภูมิแห่งนี้ยังเป็นดินแดนของผู้มั่งคั่ง ยังมีการเกษตร การค้า การสร้างเมือง และความเชื่อ (ผีสางนางไม้) ซึ่งจะทำให้รู้ว่าสุวรรณภูมิ คือ รากเหง้าของประเทศไทย
ห้องที่4 เป็นห้องที่มีความมืด อีกทั้งยังเปิดบทเนศนาของพระอีกด้วย ตรงกลางมีที่ให้นั่งพักผ่อน รอบที่นั่งมีเสาร์ 4 ต้น เสาทั้ง 4 ต้นนี้มีทั้ง นิทานกล่อมเด็กที่เล่าต่อๆกันมา บทสวดมนต์ที่พูดถึงการเข้าใจในพระพุทธศาสนาเป็นต้น ห้องนี้ถือเป็นห้องที่ควรนั่งพักผ่อนและฟังเสียงเทศนาไปสักพัก เพื่อเราจะได้มีความสงบ เมื่อเดินไปห้องต่อไป เราจะได้มีสมาธิที่จะรับรู้ข้อมูลในห้องต่อไป
ห้องที่5 เป็นห้องที่พูดถึงการก่อตั้งกรุงศรีอยุธยา มีประวัติความเป็นมาของแคว้นอื่นๆรอบข้าง และจึงเกิดเป็นกรุงศรีอยุธยาในเวลาต่อมา
ห้องที่6 พูดถึงเรือ ในห้องนี้มีพงศวดารฉบับที่คัดลอกมา ที่กล่าวถึงเรือแต่ละรำ ในห้องนี้มีเรือการค้า และ เรือพระราชพิธี เรือการค้าหรือเรือสำเภาจากประเทศต่างๆ แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมและรูปแบบการออกแบบของประเทศนั้นๆ และยังเป็นเครื่องพิสูจน์ว่าในสมัยกรุงศรีนั้นได้มีการทำมาค้าขายกับต่างประเทศมากมายไม่ว่าจะ จีน ญี่ปุ่น และ โปตุเกตุ เป็นต้น ในขณะเดียวกันเรือพระราชพิธีก๋แสดงให้เห็นถึงความโออ่า มั่งคั่งในสมัยกรุงศรีอยุธยา และเรือในพระราชพิธียังคงมีมาจนถึงปัจจุบันให้เราได้เห็นในงานพระราชพิธีต่างๆ อีกด้วย
ห้องที่7 เป็นห้องที่มีหุ่นนักรบคอยดูแลขาช้างในเวลาพระมหากษัตริย์ทำศึกยุธหัตถี เพื่อไม่ให้ช้างล้มนั่นเอง
ห้องที่8 เป็นห้องที่มีแผนที่ในสมัยอยุธยามากมายบ่งบอก อาณาเขตต่างๆ และเมืองรอบๆในสมัยนั้น
ห้องที่9 พูดถึง รอยต่อระหว่างที่กรุงศรีอยุธยาเสียกรุงและมีการสร้างเมืองขึ้นมาใหม่ ซึ่งมีคนหลากหลายเชื้อชาติเข้ามาอาศัยแต่คนไทยยังคงสืบสานวัฒนธรรมเก่าแก่กันต่อมาจากสมัยกรุงศรีอยุธยา
ห้องที่10 เป็นห้องที่มีแบบจำลองชีวิตตามชนบท มีการดำนา ไถนา เก็บข้าว และการเกษตรต่างๆ รวมไปถึง การใช้ชีวิตต่างๆ วัฒนธรรมความเป็นไทยที่ยังคงสืบสานกันอยู่ ซึ่งแบบจำลองนี้ล้วนเป็นการปั้นทั้งสิ้น
ห้องที่11 เป็นห้องของการแต่งตัว มีเสื้อผ้าสมัยก่อนที่คนในพระราชวังใส่กัน เป็นเสื้อลูกไม้นุ่งโจงกระเบน มีสไบคาดเฉียง และใกล้ๆกันก็มีโต้ะเครื่องแป้งสมัยนั้น มีหีบไม้เก่าๆอยู่ข้างๆ ทำให้รู้ว่าห้องแต่ตัวของคนสมัยก่อนนั้นไม่ได้มีความหรูหรามากมายเหมือนสมัยนี้ที่ต้องปรุงแต่งจนจำหน้าเดิมไม่ได้
และในห้องเดียวกันนี้มีแผนที่ภาพนูนต่ำให้ได้ดู มีการระบุการคมนาคมทางน้ำ มีชื่อถนน นั่นแสดงให้เห็นว่าสยามเริ่มพัฒนาประเทศให้ก้าวหน้ามาขึ้น
ห้องที่12 เป็นห้องที่มีวิทยุ ที่คอยเปิดการปราศัยการเมืองในสมัยนั้น อีกทั้งมีเพลงไทยเปิดอีกด้วย ถัดไปอีกฟากของห้องมีฉากการถ่ายทำการแถลงข่าวออกอากาศในทีวี มีกล้องตัวใหญ่โตให้คนได้ไปลองเล่นกันว่าการถ่ายทำในยุคแรกๆนั้น มันเป็นอย่างไร และโดยรอบตกแต่งด้วยรูปในสมัยนั้น ทั้งความเป็นอยู่ อาชีพ สังคม และสิ่งที่กำลัพัฒนาต่างๆ อีกด้วย
ห้องที่13 เป็นห้องที่มีการจำลองร้านบาร์เหล้า ในร้านจำลองนั้นมีอาหารที่คนไทยคุ้นเคยดี วางไว้เป็นตัวอย่างก็คือ ต้มยำกุ้ง ในบาร์มีขวดเหล้าเกือบทุกชนิดในสมัยก่อนที่คนไทยนิยมดื่มกัน มีตัวรถจำลองให้คนได้ถ่ายรูปโพสต์ท่าเลียนแบบสมัยก่อน
ห้องที่14 เป็นห้องที่มีวงกลมล้อมรอบทางเดิน เหมือนเป็นขด DNA มีจอที่แสดงภาพต่างๆให้เราได้ชมกันอีกด้วย เพื่อให้เราเห็นว่าประเทศเราพัฒนามาอย่างไร และคนไทยในประเทศควรรักษาและสานต่อมันอย่างไร
ห้องที่15 เป็นห้องที่มีการฉายเครื่องโปรเจ็คเตอร์ลงบนฝนังขนาดใหญ่ เพื่อจะบอกเล่าคำทำนายต่างๆ ที่อยู่ในอนาคตที่เรายังไปไม่ถึงนั่นเอง
สิ้นสุดการเดินทางในนิทรรศการด้วยความรู้เนื้อหาสาระต่างๆ มีสื่อการเรียนรู้ที่เป็นทั้ง วีดีโอก็ดี รูปเล่าก็ดี แบบจำลองก็ดี ทำให้เราได้เห็นรากเหง้าของความเป็นไทย เห็นว่าเราเติบโตมาอย่างไร และเราควรสืบสานสิ่งต่างๆที่บรรพบุรุษเราร่วมสร้างกันมาให้ยังคงอยู่ต่อไปจนชั่วลูกชั่วหลาน











Museum siam
4 Sanam Chai Road, Pra Barom Maha Rajawang Pranakorn District, Bangkok 10200
Tel. : +66 2 225 2777
Fax : +66 2 225 2775
E-mail : webmaster@ndmi.or.th
Website : www.museumsiam.org
bottom of page